เมนู

ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ 7 สัปดาห์ ทรงรับการอาราธนาธรรมของท้าวมหาพรหม
ทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ. ก็ทรงเห็น
อสมกุมาร และ สุเนตตกุมาร พระกนิษฐภาดา ต่างพระมารดาของพระ-
องค์ว่า กุมารทั้งสองพระองค์นี้ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย สามารถแทงตลอด
ธรรมอันละเอียดลุ่มลึกได้ เอาเถิด เราจะแสดงธรรมแก่กุมารทั้งสองนี้แล้ว เสด็จ
มาทางอากาศ ลง ณ สุธัมมราชอุทยาน โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราชอุท-
ยานเรียกพระกุมารทั้งสองพระองค์มาแล้ว อันพระกุมารพร้อมทั้งบริวารแวด
ล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางมหาชน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
พระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก ผู้ตั้งมั่น จิตสงบ ไม่
มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงกลับพระทัย
ในพระนิเวศน์ของพระองค์แล้ว ทรงบรรลุพระโพธิ-
ญาณสิ้นเชิง ประกาศพระธรรมจักรแล้ว.
บริษัทหมู่หนึ่ง ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างตั้งแต่
อเวจีนรก เบื้องบนตั้งแต่ภวัคคพรหม ก็ได้มีในการ
แสดงธรรม.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ
ท่ามกลางบริษัทนั้น อภิสมัยครั้งที่ 1 กล่าวไม่ได้ด้วย
จำนวนผู้ตรัสรู้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกเคหมฺหิ ได้แก่ ในนิเวศน์ของตน
นั่นเอง. อธิบายว่า ณ พื้นภายในปราสาทนั่นแล. บทว่า มานสํ วินิวตฺตยิ

ได้แก่ กลับใจ. อธิบายว่าอยู่ในนิเวศน์ของพระองค์ เปลี่ยนจิตจากความเป็น
ปุถุชนภายใน 7 วันเท่านั้น แล้วทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า
เหฏฺฐา แปลว่า เบื้องต่ำ. บทว่า ภวคฺคา ได้แก่ แต่อกนิษฐภพ. บทว่า
ตาย ปริสาย ได้แก่ ท่ามกลางบริษัทนั้น. บทว่า คณนาย น วตฺตพฺโพ
ความว่า เกินที่จะนับจำนวนได้. บทว่า ปฐมาภิสมโย ได้แก่ ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ 1. บทว่า อหุ ความว่า บริษัทนับจำนวนไม่ได้. ปาฐะว่า ปฐเม
อภิสฺมึสุเยว ดังนี้ก็มี. ความว่า ชนเหล่าใด ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมของ
พระโสภิตพุทธเจ้านั้น ชนเหล่านั้น อันใครๆ กล่าวไม่ได้ด้วยการนับจำนวน.
สมัยต่อมา พระโสภิตพุทธเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้น
จิตตปาฏลี ใกล้ประตูกรุงสุทัสสนะ ประทับนั่งทรงแสดงอภิธรรม เหนือพื้น
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ โคนต้น ปาริฉัตรในภพดาวดึงส์ อันเป็นภพที่สำเร็จ
ด้วยนพรัตน์และทอง. จบเทศนา เทวดาเก้าหมื่นโกฏิตรัสรู้ธรรม นี้เป็น
อภิสมัยครั้งที่ 2. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ต่อจาก
อภิสมัยครั้งที่ 1 นั้น ณ ที่ประชุมเทวดาทั้งหลาย อภิ-
สมัยครั้งที่ 2 ก็ได้มีแก่เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.

สมัยต่อมา พระราชกุมารพระนามว่า ชัยเสนะ ในกรุงสุทัสสนะ
ทรงสร้างวิหารประมาณโยชน์หนึ่ง ทรงสร้างพระอาราม ทรงเว้นไว้ระยะต้นไม้ดี
เช่นต้น อโศก ต้นสน จำปา กะถินพิมาน บุนนาค พิกุลหอม มะม่วง ขนุน
อาสนศาลา มะลิวัน มะม่วงหอม พุดเป็นต้น ทรงมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอนุโมทนาทาน ทรง
สรรเสริญการบริจาคทานแล้วทรงแสดงธรรม. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่
หมู่สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนี้ จึงตรัสว่า

ต่อมาอีก เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ ทรง
สร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้าครั้งนั้น.
พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาค
ทาน ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรนั้น ครั้งนั้น
อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.

พระราชาพระนามว่า อุคคตะ ก็สร้างพระวิหารชื่อว่า สุนันทะ ใน
กรุงสุนันทะ ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในทานนั้น
พระอรหันต์ร้อยโกฏิซึ่งบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาประชุมกัน. พระผู้มีพระภาค
เจ้าโสภิตะทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์เหล่านั้น. นี้เป็น
สันนิบาตครั้งที่ 1. คณะธรรมในเมขลนคร สร้างมหาวิหารที่น่ารื่นรมย์อย่างดี
ชื่อว่า ธัมมคณาราม ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานอีก แล้ว
ได้ถวายทานพร้อมด้วยบริขารทุกอย่าง. ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในสันนิบาตการประชุมพระอรหันต์เก้าหมื่นโกฏิ ซึ่ง
บวชโดยเอหิภิกขุภาวะ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2. ส่วนสมัยที่พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงจำพรรษาในภพของท้าวสหัสนัยน์ อันหมู่เทพแวดล้อมแล้ว เสด็จ
ลงจากเทวโลก ในดิถีปวารณาพรรษา ทรงปวารณาพร้อมด้วยพระอรหันต์
แปดสิบโกฏิ ในสันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ 4 นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต 3 ครั้ง ประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ไร้
มลทินมีจิตสงบ คงที่.
พระราชาพระองค์นั้น พระนามว่า อุคคตะ ถวาย
ทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน ในกาลนั้น พระ-
อรหันต์ร้อยโกฏิ มาประชุมกัน (ครั้งที่ 1).

ต่อมาอีก หมู่ชนชาวเมือง ถวายทานแด่พระผู้
เป็นยอดแห่งนรชน ครั้งนั้น พระอรหันต์เก้าสิบ
โกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ 2.
ครั้งพระชินพุทธเจ้า จำพรรษา ณ เทวโลก เสด็จ
ลง พระอรหันต์แปดสิบโกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ 3.

เล่ากันว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุชาตะ
เกิดดีทั้งสองฝ่ายใน กรุงรัมมวดี ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
โสภิตะแล้วตั้งอยู่ในสรณะ ถวายมหาทานตลอดไตรมาสแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ
เจ้าเป็นประธาน. แม้พระโสภิตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์สุชาต-
พราหมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ด้วย
เหตุนั้นจึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุชาตะ ใน
ครั้งนั้น ได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกให้
อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ.
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่
หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ร่าเริง สลด
ใจ ได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อให้ประโยชน์
นั้นเกิดขึ้น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเมวตฺถมนุปตฺติยา ได้แก่ เพื่อให้เกิด
ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น. อธิบายว่า ก็ครั้นฟังพระดำรัสของพระโสภิต
พุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า ในอนาคตกาล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า โคตมะ ดังนี้แล้ว จึงปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เพราะว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ผิด. บทว่า อุคฺคํ ได้แก่ แรงกล้า.
บทว่า ธิตึ ได้แก่ ความเพียร. บทว่า อกาสหึ ตัดบทว่า อกาสึ
อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ พระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่า สุธัมมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสุเนตตะ และ พระอสมะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
อโนมะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุลา และ พระสุชาดา โพธิพฤกษ์
ชื่อว่า ต้นนาคะ. พระสรีระสูง 58 ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัคร-
มเหสีพระนามว่า มกิลา พระโอรสพระนามว่า สีหกุมาร. พระสนมนาฏนารี
สามหมื่นเจ็ดพันนาง ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงออกอภิเนษกรมณ์
โดยเสด็จไปพร้อมกับปราสาท. อุปัฏฐากพระนามว่า พระเจ้าชัยเสนะ. ด้วย
เหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า สุธัมมะ พระชนกพระนามว่า พระ-
เจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา.
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระ-
อัครสาวก ชื่อว่าพระอสมะ และ พระสุเนตตะ มีพระ
พุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอโนมะ.